อินทรียวัตถุในดิน: หัวใจห้องหนึ่งของดิน
หัวใจของคน-หัวใจของดิน
คนเรามีหัวใจ 4 ห้องและทุกห้องต้องทำหน้าที่หมุนเวียนโลหิตเพื่อหล่อเลี้ยงทุกอวัยวะของร่างกาย หากหัวใจห้องหนึ่งทำงานบกพร่องจะทำให้สุขภาพทรุดโทรม ต้องรีบรับการรักษา ดินก็มีหัวใจ 4 ห้องเช่นกัน (ภาพที่1) ทุกห้องมีความสำคัญต่อสมบัติของดินและเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืชอย่างมาก จึงควรดูแลให้หัวใจของดินทั้ง 4 ห้องมีขนาดปกติและสภาพดีอยู่เสมอ เพื่อจะได้เป็นดินดีและให้ผลผลิตสูง อย่างไรก็ตาม ดินที่ใช้เพาะปลูกมักถูกละเลยให้หัวใจห้องหนึ่งแฟบลงไปทีละน้อย นั่นคือ “อินทรียวัตถุในดิน”
|
องค์ประกอบของดินที่เหมาะแก่การปลูกพืชในภาพรวมมีอะไรบ้าง ?
ดินที่เหมาะกับการปลูกพืชมีองค์ประกอบโดยปริมาตร 4 ส่วน เปรียบได้กับหัวใจทั้ง 4 ห้อง คือ
ภาพที่ 1 องค์ประกอบของดินที่เหมาะแก่การปลูกพืช (%โดยปริมาตร) |
ดังภาพที่ 1 อินทรียวัตถุในดินนั้นแม้ระดับที่เหมาะสมจะมีเพียง 5% โดยบริมาตร หรือ 3.5% โดยน้ำหนัก แต่เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญต่อสมบัติของดินทางฟิสิกส์ เคมีและชีวภาพ ดินที่ใช้เพาะปลูกอินทรียวัตถุจะมีการสลายตัวโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์อย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องใส่ชดเชยเพื่อรักษาให้มีจุลินทรีย์ในระดับที่เหมาะสมตลอดไป แต่เกษตรกรโดยทั่วไปมักละเลยโดยการเผาตอซังพืชหรือไม่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อชดเชยส่วนที่สลายไปในรอบปี เป็นเหตุให้ดินมีอินทรียวัตถุต่ำ
แหล่งข้อมูล: คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา (2548)
อินทรียวัตถุในดินคืออะไร ? 1. เศษซากพืชหรือสัตว์ที่ย่อยสลายแล้ว เกณฑ์ในการประเมินระดับอินทรียวัตถุในดินมีดังนี้ 1) น้อยกว่า 1% คือ ต่ำ |
อินทรียวัตถุในดินมีประโยชน์ต่อพืชอย่างไรบ้าง ?
อินทรียวัตถุในดินมีประโยชน์ต่อพืช 2 ประการ คือ
1) เป็นแหล่งของธาตุไนโตรเจน แต่ก็ให้ธาตุอื่นๆ โดยจะปล่อยธาตุอาหารจากการสลายตัวอย่างช้าๆ
2) บำรุงดินทางกายภาพ เคมีและชีวภาพ ดังรายละเอียดในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 อิทธิพลของอินทรียวัตถุต่อสมบัติของดินและการเจริญเติบโตของพืช
ผลต่อดิน | ผลต่อพืช | ||||||||||||||||
ด้านกายภาพของดิน
|
|
||||||||||||||||
ด้านเคมีของดิน
|
|
||||||||||||||||
ด้านชีวภาพของดิน
|
|
แหล่งข้อมูล: ยงยุทธ และคณะ (2554)
ปริมาณอินทรียวัตถุในดินของประเทศไทยสูง ปานกลาง หรือต่ำ ?
ดินที่ใช้เพาะปลูกในประเทศไทยส่วนมากมีอินทรียวัตถุอยู่ในเกณฑ์ต่ำถึงปานกลาง ดินเหล่านี้มักขาดธาตุไนโตรเจนและธาตุอื่นๆ การบำรุงดินมีวิธีการ ดังนี้
1. ไถกลบซากพืชและวัชพืชลงในดิน
2. ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักตามกำลังเท่าที่สามารถทำได้
3. หากผลการวิเคราะห์ดินแสดงว่ายังขาดธาตุใด ก็ใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มธาตุนั้นตามอัตราที่แนะนำ
4. เสริมด้วยปุ๋ยทางใบ
เอกสารอ้างอิง
คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2548. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.กรุงเทพฯ.
ยงยุทธ โอสถสภา อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์ และ ชวลิต ฮงประยูร. 2554. ปุ๋ยเพื่อการเกษตรยั่งยืน.
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ